เศรษฐกิจในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปรับตัว หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กินเวลามายาวนานกว่า 3 ปี แต่อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังคงมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามองแม้จะมีการถดถอยบ้างก็ตาม โดยหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจคือ “Export” หรือธุรกิจการส่งออกนั่นเอง
ธุรกิจ Export คืออะไร มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างไร ทำไมถึงเป็นโมเดลธุรกิจที่นักลงทุนหลายๆ คนให้ความสนใจ ในบทความนี้ AEC TRADE CENTER มีคำตอบให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้ทราบกัน
ธุรกิจ Export คือ
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับความหมายของคำว่า Export ดีอยู่แล้ว ซึ่งแปลได้ว่า “การส่งออก” หรือก็คือการจัดส่งสินค้าต่างๆ จากต้นทางไปสู่ปลายทางที่กำหนด ทั้งนี้การส่งออกระหว่างประเทศที่นับว่าเป็นตลาดค้าส่งที่ใหญ่กว่าและสามารถสร้างเม็ดเงินได้จำนวนมาก และเป็นที่พูดถึงมากกว่า ใครๆ จึงมักมีภาพจำว่าการส่งออกเป็นการค้าระหว่างประเทศนั่นเอง
สำหรับการส่งออกหรือนำเข้าระหว่างประเทศนั้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการควบคุมจัดการ คือ กรมศุลกากร (Customs Department) เพื่อคอยตรวจสอบสินค้าว่าเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมายหรือไม่ และดูว่ามีการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดต้องเป็นไปตามกฎหมายการนำเข้าและส่งออกของแต่ละประเทศ
การส่งออกมีความสำคัญด้านไหนบ้าง?
ธุรกิจส่งออก (Export) มีความสำคัญที่หลากหลายมากทีเดียว อาทิ
- ผลักดันการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงานในประเทศ
- ช่วยนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาหมุนเวียนเศรษฐกิจ
- การส่งออกก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ทรัพยากร
- ส่งเสริมการสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
นอกจากนี้ยังมีข้อดีเชิงลึกอีกมากที่น่าสนใจและน่าศึกษาอีกด้วย
ธุรกิจ Export ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง?
ในประเทศไทย ยอดการส่งออกในแต่ละปีที่ผ่านๆ มาอยู่ในอัตราที่สูงมาก เมื่อเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านอื่น โดยการส่งออกคิดเป็น 80% ของ GDP ทั้งหมดของประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) ได้เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา การส่งออกไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 24.2% มีมูลค่ากว่า 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจค้าส่งไทยขยายตัวมากขนาดนี้ เป็นเพราะการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในเชิง OBM (Online Business Matching) ผนวกกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของภาคการผลิตทั่วโลก (Global Manufacturing PMI) สุดท้ายนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าการส่งออกในปี 2565 นี้จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 3 – 4% อีกด้วย
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตลาดธุรกิจค้าส่งของประเทศไทยนั้นมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากแค่ไหน ต่อไปเรามาดูกันว่าจะมีรูปแบบการส่งออกแบบไหนบ้าง
รูปแบบการดำเนินธุรกิจส่งออก
มาดูกันว่าการส่งออกนั้นมีการดำเนินการแบบไหนบ้าง
- ธุรกิจส่งออกทั่วไป
คือรูปแบบการ Export ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยหรือทั่วไป โดยบริษัทหรือผู้ประกอบการที่อาจผลิตสินค้าด้วยตัวเองหรือรับสินค้ามาจากโรงงานหรือผู้จัดจำหน่ายในตลาดค้าส่ง และส่งออกต่อไปยังธุรกิจค้าปลีกรายย่อยในประเทศต่างๆ
- บริการขนส่ง หรือ Shipping
ธุรกิจที่ให้บริการขนส่งไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ จะไม่ผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง แต่จะเป็นผู้ที่ให้บริการรับสินค้าเพื่อไปส่งยังปลายทางเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินทุนมาก เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการผลิตสินค้าหรือสต็อกสินค้า แต่อาจต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ เช่น ทำสัญญากับธุรกิจค้าส่งที่ต้องการใช้บริการเพื่อส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกหรือลูกค้าปลายทาง เป็นต้น
- e-Export หรือ ธุรกิจส่งออกผ่านอินเทอร์เน็ต
การทำธุรกิจ e-Export นั้นเริ่มขึ้นมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบธุรกิจส่งออกที่ค่อนข้างใหม่ โดยอาจอาศัยเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ในการทำข้อตกลงซื้อ-ขายและทำการส่งออก แต่ในประเทศไทยเองอาจจะยังไม่มีรูปแบบดังกล่าวให้เห็นมากนัก แต่ด้วยกระแสการส่งเสริมธุรกิจออนไลน์ การทำ e-Export จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจการส่งออกทั้งหมดนี้ต้องผ่านการตรวจสอบของกรมศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม จำเป็นต้องมีการยื่นเอกสารต่างๆ เช่น บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ ใบรับรองมาตรฐานสินค้า หนังสืออนุญาต และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและครบถ้วน จึงจะได้รับอนุญาตในการขนส่งอย่างถูกกฎหมาย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับธุรกิจการ Export เบื้องต้น ซึ่งเชื่อว่าผู้ค้าส่งหลายๆ ท่านก็อาจกำลังวางแผนเพื่อทำการส่งออกสินค้า เพื่อขยายธุรกิจของตนเองเช่นกัน ดังนั้นแนะนำให้ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
ส่วนผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนเข้าสู่และกำลังมองหาตลาดค้าส่งที่มีสินค้าหลากหลาย ขอแนะนำให้เริ่มต้นได้ที่ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION
ศูนย์ค้าส่งรูปแบบใหม่ ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง ครบวงจร แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ตั้งอยู่บนทำเลทอง ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านประตูน้ำ เดินทางได้สะดวก ภายในศูนย์ฯ ที่รวบรวมสินค้าคุณภาพเอาไว้เพื่อสนับสนุนผู้ค้าส่งในรูปแบบ B2B/B2B2C ผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน ขยายฐานลูกค้าในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ มีบริการพร้อมกับ PhenixBox เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นค้าส่งแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็น B2B/B2B2C Online Platform ในรูปแบบ Omni Channel ตอบโจทย์ยุคดิจิทัลเชื่อมช่องทางหน้าร้านและออนไลน์เข้าด้วยกัน (Seamless O2O) ที่ใช้งานง่าย สะดวก และปลอดภัย ทำการซื้อ-ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงยังมีพันธมิตรจากประเทศจีนอย่างอี้อู เมืองที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นเมืองแห่งการค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มาเปิดพื้นที่หน้าร้านและคอยให้ปรึกษา ภายใต้ชื่อ YIWU SELECTION THAILAND SHOWCASE เป็นการเปิดประตูการค้าระหว่างตลาดไทยกับตลาดจีนโดยตรง เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจและกลุ่มคนทั่วไปได้เลือกสรรสินค้าในราคาต้นทางได้เลย ไม่ต้องกังวลกับต้นทุนแอบแฝงที่ตามมา หรือสินค้าไม่ตรงปก พร้อมที่ปรึกษาที่คอยดูแลทุกขั้นตอน ที่สำคัญเรื่องภาษาและการสื่อสารจะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป
นอกจากนี้ยังมีบริการสนับสนุนผู้ค้าส่ง Solution Service Center (SSC) ผ่านเครื่องมือช่วยขายสุดพิเศษ เช่น Business Matching Area, B2B/B2B2C Parking Space, Loading Zone, LIve Feeding & Studio และอีกมากมาย
ผู้ที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจค้าส่งออนไลน์สามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ฟรี…วันนี้ที่ https://aectradecenter-th.com/whyExhibit/#registerexhibit
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
AEC TRADE CENTER-PANTIP WHOLESALE DESTINATION
💻 Website: https://aectradecenter-th.com/
💻 Website: https://www.phenixbox.com/
👥 Facebook: https://www.facebook.com/aecpantip
👥YIWU Selection Facebook: https://www.facebook.com/yiwuselection.th
📩 Inbox: https://www.facebook.com/messages/t/aectradecenter.th
💬 Line: @aecpantip
📞 : 061-416-6790, 065-950-5986