การจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านขายส่งนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องตระหนัก ซึ่งเรื่อง “ภาษี” ก็เป็นอีกเรื่องที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การเสียภาษีร้านค้าหรือใครที่เปิดร้านออนไลน์อยู่จะต้องทำอย่างไร พร้อมแนะนำอีกทางออกที่จะช่วยให้ทุกท่านเริ่มต้นธุรกิจขายส่งได้อย่างมั่นใจ
ดังนั้นในบทความนี้จะพาทุกคนมาเจาะลึกเกี่ยวกับภาษีร้านขายส่ง ว่าจะต้องเจอกับภาษีประเภทไหนบ้าง
ภาษีที่ร้านขายส่งจะต้องเจอ มีอะไรบ้าง?
สำหรับผู้ค้าส่งที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า แนะนำให้ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ในเบื้องต้นก่อน (สามารถดูรายละเอียดเอกสารประกอบคำขอยื่นการจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่นี่) โดยหลังจากมีการจดทะเบียนแล้ว จำเป็นจะต้องแจ้งขอใบอนุญาต และเสียภาษีที่กรมสรรพสามิตและแจ้งเสียภาษีร้านค้ากับกรมสรรพากร เพื่อจะได้เสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งภาษีที่ร้านขายส่งจะต้องเกี่ยวข้องจะประกอบด้วย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value-Added Tax) คือภาษีที่ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตทั้งจดทะเบียนหรือไม่ได้จดทะเบียน จะเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย และผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ สำหรับร้านขายส่งที่ส่งซื้อจากโรงงานหรือตัวแทนจัดจำหน่ายจำเป็นที่จะต้องเก็บเอกสารดังกล่าวเอาไว้เพื่อใช้คำนวณภาษีในแต่ละเดือน ส่วนร้านขายส่งแห่งไหนที่ทำการขายสินค้าขายส่งให้กับผู้ค้าปลีก จำเป็นที่จะต้องทำรายงานภาษีซื้อ-ขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบร่วมด้วย
- ภาษีศุลกากร สำหรับผู้ค้าส่งหรือร้านขายส่งไหนที่มีการนำเข้าวัสดุ วัตถุดิบ อุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศ จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีศุลกากรด้วย โดยจะต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ตรวจสอบอัตราภาษีศุลการกรว่าเข้าอัตราไหนบ้างและกรรมวิธีการนำเข้าสินค้า โดยนอกจากจะต้องเสียภาษีศุลกากรแล้วจะมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมด้วย
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่ผู้จ่ายเงินได้หักจากผู้รับล่วงหน้าและนำส่งสรรพากร โดยผู้จ่ายเงินจะมีหน้าที่ต้องส่งหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ไปให้ผู้รับสำหรับใช้ยื่นภาษี
ดังนั้นหากมีการจ้างงานลูกจ้างและต้องจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง หรือโบนัส จำเป็นจะต้องหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรในแต่ละเดือน ซึ่งในกรณีที่ผู้ค้าส่งหรือผู้ผลิตมีการรับผลิตหรือรับจ้างก็อาจจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้เช่นกัน
- ภาษีร้านค้าออนไลน์ สำหรับธุรกิจค้าส่งที่เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ จำเป็นที่จะต้องยื่นภาษี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย “อีเพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่ธนาคารจะเป็นผู้จัดส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรตรวจสอบ ซึ่งเบื้องต้นสามารถคำนวณภาษีได้จากการหักค่าใช้จ่ายได้ 3 ลักษณะ คือ
- การหักตามอัตรา 60% สำหรับร้านขายส่งที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง
- การหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารการผลิตหรือต้นทุนต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อใช้หักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน ซึ่งรายได้ที่เหลือหลังจากหักจะมีการคำนวณแบบขั้นบันไดเหมือนกับภาษีบุคคลธรรมดา
- การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือจะมีการคำนวณภาษีในอัตรา 0.5% ในกรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์มากกว่า 1 ล้านบาท
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับร้านขายส่งที่มีหน้าร้านหรือมีการติดป้ายร้านค้าจำเป็นที่จะต้องเสียภาษี 2 แบบด้วยกัน คือ ภาษีสิ่งปลูกสร้างพาณิชย์และภาษีป้าย
ช่วงเวลาที่จะต้องยื่นภาษี?
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจจะมีการยื่นภาษี 2 รอบ ในกรณีที่ไม่ได้มีการจดทะเบียน ผู้ค้าส่งจะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะจัดเป็นประเภทที่ 8 คือ รายได้จากการทำธุรกิจ จำเป็นจะต้องยื่น 2 ช่วงเวลาดังนี้
- ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา จะเหมือนกับการยื่นภาษีเงินได้
- ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ถือเป็นการสรุปรายได้ เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องภาษีร้านขายส่งที่ผู้ประกอบการควรทราบเอาไว้ เพื่อที่จะวางแผนการเงินให้กับธุรกิจตัวเองให้เป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนท่านใดที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจค้าส่งอย่างราบรื่น สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AEC TRADE CENTER ได้เลย
มารู้จัก AEC TRADE CENTER ให้มากขึ้น
สำหรับร้านขายส่งที่ต้องการเริ่มธุรกิจค้าส่ง แต่ยังไม่มีไอเดียหรือพาร์ทเนอร์สำหรับธุรกิจ สามารถมาที่ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION ศูนย์ค้าส่งรูปแบบใหม่ ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง ครบวงจร แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ตั้งอยู่บนทำเลทอง ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านประตูน้ำ เดินทางได้สะดวกสบาย หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนตัวหรือขนส่งสาธารณะ และยังพบกับแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง PhenixBox เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นค้าส่งแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็น B2B/B2B2C Online Platform ในรูปแบบ Omni Channel ตอบโจทย์ยุคดิจิทัลเชื่อมช่องทางหน้าร้านและออนไลน์เข้าด้วยกัน (Seamless O2O) ที่ใช้งานง่าย สะดวก และปลอดภัย ทำการซื้อ-ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยที่ศูนย์ค้าส่งแห่งนี้มีไฮไลท์คือบริการสนับสนุนผู้ค้าส่ง Solution Service Center (SSC) ผ่านเครื่องมือช่วยขายสุด Exclusive เช่น BUSINESS MATCHING AREA, B2B/B2B2C PARKING SPACE, LOADING ZONE, LIVE FEEDING & STUDIO รวมถึงบริการให้คำปรึกษากับผู้ค้าส่งอีกด้วย นอกจากนี้ใครที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนที่ศูนย์แห่งนี้ก็มี YIWU SELECTION THAILAND SHOWCASE ศูนย์แสดงสินค้าจากผู้ผลิตประเทศจีน (อี้อู) ที่มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจและกลุ่มคนทั่วไปได้เลือกสรรสินค้าในราคาต้นทางได้เลย ไม่ต้องกังวลกับต้นทุนแอบแฝงที่ตามมา รวมถึงมีบริการหาสินค้าจีนจัดส่งถึงมือ ไม่ต้องจัดการเอกสารหรือนำเข้าเข้าสินค้าและภาษี ทำให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ผู้ที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจค้าส่งออนไลน์สามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ฟรี…วันนี้ที่ https://aectradecenter-th.com/whyExhibit/#registerexhibit
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
AEC TRADE CENTER-PANTIP WHOLESALE DESTINATION
💻 Website: https://aectradecenter-th.com/
💻 Website: https://www.phenixbox.com/
👥 Facebook: https://www.facebook.com/aecpantip
👥 YIWU Selection Facebook: https://www.facebook.com/yiwuselection.th
📩 Inbox: https://www.facebook.com/messages/t/aectradecenter.th
💬 Line: @aecpantip
📞 : 061-416-6790, 065-950-5986
อ้างอิง: