ในโลกการทำธุรกิจนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้ให้บริการที่มีหลายบทบาทมาก โดยตำแหน่งที่ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและได้ยินมามากที่สุดก็คงเป็น “ผู้ค้าปลีก” หรือก็คือพ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ปลายน้ำให้กับผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งอีกชื่อที่อาจจะคุ้นหูไม่แพ้กันก็คือ “ผู้ค้าส่ง” และต้องขอบอกว่าบ่อยครั้งที่หลายต่อหลายคนมักจำผู้ทำธุรกิจค้าส่งสลับกับผู้จัดจำหน่าย หรืออาจคิดว่ามีบทบาทและหน้าที่เหมือนๆ กัน
แต่ในความจริงแล้ว ผู้ค้าส่งกับผู้จัดจำหน่ายนั้นมีบทบาทหน้าที่ในโลกธุรกิจที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้กระจ่าง ในบทความนี้ของ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION จะมาบอกถึงความแตกต่างระหว่างสองตำแหน่งนี้ให้ชัดเจน
บทบาทของผู้ค้าส่ง ในโลกธุรกิจ
ผู้ที่ทำธุรกิจค้าส่ง จะทำการซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ต้นน้ำ ในปริมาณมากเพื่อให้ได้ราคาต้นทุนที่ต่ำ เพื่อที่จะจัดจำหน่ายต่อไปยังธุรกิจรายย่อยหรือที่เราเรียกกันว่า “ผู้ค้าปลีก” ในราคาที่สูงขึ้น แต่จะไม่ได้มีการเข้าร่วมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ เป็นเพียงการซื้อ-ขายเท่าระหว่างกันเท่านั้น
หากให้พูดง่ายๆ หน้าที่ของผู้ค้าส่งคือการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกในห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ซึ่งโดยปกติแล้ว มักมีปริมาณการซื้อขายครั้งละมากๆ เนื่องจากเป็นการขายเพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกนำไปขายต่อให้กับผู้บริโภคทั่วไป หรือเพื่อนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมนั่นเอง
ผู้ค้าส่งสำคัญต่อตลาดอย่างไร?
แม้จะไม่ได้เป็นผู้ที่ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรง แต่บทบาทของผู้ค้าส่งนั้นมีความสำคัญต่อตลาดและ Supply Chain เป็นอย่างมาก ดังนี้
- ส่งต่อสินค้าให้กับผู้ค้าปลีก
ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในปริมาณมากๆ แล้วจะทำการแบ่งออกเก็บไว้ในคลัง เพื่อส่งต่อให้กับผู้ค้าปลีกหลายๆ รายที่ไม่สามารถติดต่อผู้ผลิตได้ด้วยตนเอง หรือไม่มีเงินทุนมากพอที่จะสต็อกสินค้าเอาไว้ในปริมาณมากๆ
- กระจายสินค้าภายในประเทศได้อย่างทั่วถึง
ผู้ค้าส่งมีส่วนช่วยในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังร้านค้าปลีกภายในพื้นที่หรือแม้กระทั่งผู้ค้าปลีกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อีกด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึง ส่วนผู้ค้าส่งเองก็สามารถสร้างกำไรให้กับธุรกิจของตัวเองได้
- กระจายสินค้าไปยังต่างประเทศ
บ่อยครั้งที่ผู้ค้าส่งนั้นจะขยับขยายธุรกิจและสร้างพันมิตรกับธุรกิจต่างชาติ จนธุรกิจค้าส่งได้มีการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นการเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าธุรกิจค้าส่งนั้นมีอิทธิพลและบทบาทสำคัญต่อผู้ประกอบกิจการรายย่อย ผู้บริโภค รวมถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าผู้ค้าส่งเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของตลาดเลยทีเดียว
บทบาทของผู้จัดจำหน่ายในโลกธุรกิจ
ในส่วนของผู้จัดจำหน่ายหรือ Distributor มีหน้าที่ในการ “จำหน่าย” สินค้าไปยังช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ ในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าปลีก ผู้บริโภคทั่วไปโดยตรง หรือแม้กระทั่งจำหน่ายให้กับผู้ค้าส่งรายอื่นๆ ทำให้การดำเนินการธุรกิจนั้นอยู่ในระดับที่กว้างกว่าธุรกิจค้าส่ง ซึ่งโดยทั่วไป ผู้จัดจำหน่ายจะทำสัญญากับผู้ผลิตก่อนจะเริ่มจัดจำหน่ายสินค้าหรือ Product Line นั้นๆ ในอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้จัดจำหน่ายเป็นเหมือนตัวแทนของผู้ผลิตนั่นเอง
นอกจากนี้ ผู้จัดจำหน่ายแตกต่างจากผู้ค้าส่ง เนื่องจากผู้ค้าส่งจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับกิจกรรมการตลาด แต่ผู้จัดจำหน่ายนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมการตลาด (Marketing) ต่างๆ อาทิ การจัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขายจากช่องทางต่างๆ อีกด้วย
ผู้จัดจำหน่ายสำคัญต่อตลาดอย่างไร?
นอกจากจะมีหน้าที่ในตลาดที่ต่างจากผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่ายยังมีความสำคัญในอีกด้านหนึ่งที่แตกต่างกันด้วย อาทิ
- เป็นตัวแทนของผู้ผลิตในการติดต่อสื่อสาร
ผู้เป็นตัวแทนจำหน่ายนั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ ในตลาดแทนผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายจะมีเป้าหมายในการติดต่อซื้อ-ขาย, กระจายสินค้า หรือเจรจากับฝ่ายต่างๆ (ผู้ค้าส่ง, ผู้ค้าปลีก, กิจการรายย่อย, ผู้บริโภค, ฯลฯ) ทำให้ผู้ผลิตสามารถมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาคุณภาพสินค้า การพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และการผลิตได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การลงทุนหรือใช้บุคลากรจำนวนมากเพื่อติดต่อสื่อสารนั่นเอง
- กระจายสินค้าให้ช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ ในตลาด
อย่างที่ได้กล่าวไป ผู้จัดจำหน่ายมีบทบาทในการกระจายสินค้าให้กับแทบทุกช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาด ทำให้ระดับการให้บริการนั้นกว้างมากๆ ทั้งขายให้กับผู้ค้าส่งเอง ผู้ค้าปลีก หรือแม้กระทั่งผู้บริโภคทั่วไปที่ต้องการสินค้านั้นๆ ทุกคนจึงเข้าถึงสินค้าได้ง่ายมากขึ้น
- สนับสนุนผู้ผลิตด้วยกิจกรรมการตลาด
ผู้ผลิตอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำการตลาดหรือการเข้าหา “กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า” ในตลาด ซึ่งผู้จัดจำหน่ายนั้นสามารถเข้ามาทำหน้าที่ด้านนี้แทนได้ คือการจัดแคมเปญการตลาด โปรโมชั่นกระตุ้นการขาย หรือเป็นการช่วยกำหนดแพกเกจหรือราคาที่เหมาะสมกับลูกค้าที่ในตลาดที่ต่างกันไป
แม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่หน้าที่ของผู้ค้าส่งและผู้จัดจำหน่ายในตลาดก็มีความแตกต่าง หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านคลายข้อสงสัยที่มีได้ ส่วนผู้อ่านท่านใดที่กำลังวางแผนเริ่มทำธุรกิจค้าส่งหรือเปิดร้านเป็นของตัวเอง ทางศูนย์ค้าส่ง AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLSALE DESTINATION ยังมีบทความให้ความรู้อื่นๆ อีกมากเพื่อช่วยให้ผู้เริ่มธุรกิจทุกคนสามารถเริ่มธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION
คือศูนย์ค้าส่งรูปแบบใหม่ ครบวงจร ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในทำเลที่เดินทางสะดวก แห่งแรกและแห่งเดียวของไทยที่รวมสินค้าคุณภาพเข้ามาไว้เพื่อสนับสนุนผู้ค้าส่ง ด้วย Solution Service Center ที่มีเครื่องมือสุด Exclusive ช่วยส่งเสริมและรองรับกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ค้าส่ง เช่น Business Matching Area, Live Feeding & Studio, B2B/B2B2C Car Park, Loading Zone และอีกมากมาย ผนวกกับแพลตฟอร์มค้าส่ง PhenixBox รูปแบบ Omni Channel ที่เชื่อมช่องทางหน้าร้านและออนไลน์เข้าด้วยกัน (Seamless O2O) ร่วมช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันกับตลาดในประเทศและตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้ที่สนใจอยากจะเริ่มต้นธุรกิจค้าส่งออนไลน์สามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ฟรี…วันนี้ที่ https://aectradecenter-th.com/whyExhibit/#registerexhibit
รวมบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ผู้ค้าส่ง
- ไขให้กระจ่าง! ความแตกต่างระหว่างผู้ค้าส่งกับผู้จัดจำหน่ายมีอะไรบ้าง?
- มาทำความรู้จักความหมายของผู้ค้าส่ง หรือ “ยี่ปั๊ว” และประเภทของผู้ค้าส่ง
- เมื่อเป็นผู้ค้าส่งที่ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION จะได้ประโยชน์อย่างไร?
- ผู้ค้าส่งควรปรับตัวอย่างไร? หลังวิกฤตโควิด-19 ให้ธุรกิจอยู่รอด
- ทำความรู้จัก “การค้าส่ง” รูปแบบธุรกิจน่าจับตามองในยุคดิจิทัล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
AEC TRADE CENTER-PANTIP WHOLESALE DESTINATION
💻 Website: https://aectradecenter-th.com/
💻 Website: https://www.phenixbox.com/
👥 Facebook: https://www.facebook.com/aecpantip
📩 Inbox: https://www.facebook.com/messages/t/aectradecenter.th
💬 LINE: @aecpantip
📞 : 061-416-6790, 065-950-5986
อ้างอิง