เปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่…? เปิดร้านเบเกอรี่ต้องมีอะไรบ้าง…? ใครที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อย่างการเปิดร้านเบเกอรี่ เปิดร้านเค้กเล็ก ๆ คงเคยเสิร์ชหาเกี่ยวกับสิ่งพวกนี้อย่างแน่นอน สำหรับเหล่า Beginner ทั้งหลายที่อยากรู้รายละเอียดเหล่านี้ “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหารและบริการครบวงจรได้รวบรวมคำตอบที่เป็นประโยชน์สำหรับการเปิดร้านเค้กสักร้านว่าเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ไม่ให้ขาดทุน พร้อมเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยให้เปิดร้านได้อย่างราบรื่นและขายดีมาฝากทุก ๆ คนแล้วที่บทความนี้
เปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ รวมสิ่งที่ต้องลงมือทำก่อนเปิดร้านจริง
ก่อนที่จะเปิดร้านเค้กสักร้านและไปรู้ถึงงบประมาณว่าเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่นั้น ต้องขอบอกก่อนเลยว่าการเปิดร้านเบเกอรี่ หรือเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ มีรายละเอียดที่ซับซ้อนพอสมควรและมีข้อควรรู้มากมาย ด้านล่างนี้เราขอบอกต่อ How to ต่าง ๆ สำหรับการเปิดร้านเค้กตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นวางแผนเปิดร้าน การวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ ไปจนถึงการโปรโมตร้านเพื่อเรียกลูกค้าผ่านการใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ไปอ่านกันต่อได้เลย
1. รู้ก่อนว่าเราอยากเปิดร้านเค้กแบบไหน?
ในปัจจุบันร้านเค้กมีหลายแบบมาก ตั้งแต่ร้านที่ทำเค้กขายเองไปจนถึงร้านที่รับเค้กมาขาย บ้างก็เป็นร้านเค้กที่รวมเอาขนมหลากหลายประเภทมาขายในร้านเดียวกัน บ้างก็เลือกขายเฉพาะเค้กแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งก่อนที่จะเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ สักร้าน เหล่า Beginner ทั้งหลายควรตีโจทย์ของร้านเค้กที่อยากเปิดให้แตกก่อนเพื่อให้สามารถกำหนดงบประมาณได้ง่ายยิ่งขึ้น เราขอยกตัวอย่างประเภทของร้านเค้กในรูปแบบต่าง ๆ ด้านล่างนี้…
- คาเฟ่
ร้านที่ผสมผสานระหว่างร้านเค้กและคาเฟ่เข้าด้วยกัน โดยมักจะมีเค้กรูปแบบต่าง ๆ ให้ได้เลือกซื้อร่วมกับการจับคู่เครื่องดื่ม อย่าง กาแฟและชา โดยจะเป็นร้านที่มีพื้นที่รับประทานอาหารที่ลูกค้าสามารถนั่งรับประทานได้
- ร้านป็อปอัป/ บูท
ร้านเค้กที่เปิดชั่วคราวบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง มักจะมีแค่เคาน์เตอร์เล็ก ๆ ให้สั่งเค้กได้ และมีที่นั่งไม่เยอะ เป็นประเภทที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจได้ทดสอบร้านโดยไม่ต้องเช่าพื้นที่จริง เหมาะกับ Beginner ที่อยากเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ สักร้าน
- ร้าน Grap & Go
ร้านเค้กที่ส่วนใหญ่จะมาพร้อมบริการซื้อกลับบ้าน มีเค้กที่ใส่กล่องล่วงหน้าหรือพร้อมรับประทาน ส่วนใหญ่จะไม่มีพื้นที่รับประทานอาหาร ตอบโจทย์ความสะดวกสบายของลูกค้าได้อย่างดี
- ร้านเค้ก Food Truck
ร้านเค้กที่ขายเค้กต่าง ๆ จากรถบรรทุกสามารถย้ายที่ขายไปได้เรื่อย ๆ และเลือกทำเลได้ตามใจชอบ มักมีเค้กและของหวานที่อบสดใหม่หลากหลายชนิดให้เลือกซื้อ โดยจะไม่ได้ทำเค้กหรืออบเค้กบนรถ
- ร้านเน้นเค้กประเภทใดประเภทหนึ่ง
ร้านเค้กที่เน้นทำและขายเค้กชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เค้กแต่งงาน คัพเค้ก หรือเค้ก Low-Fat เป็นต้น สำหรับ Beginner ที่อยากเปิดร้านเค้กขนาดใหญ่ หรือเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ ร้านประเภทนี้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบเค้กแบบใดแบบหนึ่งได้ดีเหมือนกัน
- ร้านเค้กโฮมเมด
ร้านเค้กประเภทนี้เป็นประเภทที่ฮิตมากในปัจจุบันมีการขายเค้กที่ทำขึ้นเองโดยใช้สูตรแบบโฮมเมดที่ทำจากส่วนผสมคุณภาพสูงและความใส่ใจในรายละเอียด ส่วนใหญ่เค้กที่ทำจะมีรสชาติ ขนาด และหน้าเค้กที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโอกาสต่าง ๆ
ดังนั้นไม่ว่าเหล่า Beginner จะเลือกเปิดร้านประเภทไหน แน่นอนว่าแต่ละประเภทจะสามารถช่วยให้สามารถคำนวณงบประมาณการเปิดร้านได้ว่าเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่
2. กำหนดคอนเซปต์ของร้านเค้ก
หากใครอยากรู้ว่าอยากเปิดร้านเบเกอรี่ต้องทำไงต่อไป เราขอบอกเลยว่าเรื่องของการกำหนดคอนเซปต์ของร้านเป็นขั้นต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเปิดเป็นร้านเค้กสั่งทำ คัพเค้ก หรือขนมอบหลากหลายชนิด การกำหนดคอนเซปต์ของร้านเค้กโดยใช้จุดขายที่ไม่เหมือนใครก็สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาได้ เช่น เค้กไร้แป้ง ไร้ไขมันทรานส์ ที่ใช้ส่วนผสมออร์แกนิกสำหรับคนรักสุขภาพ หรือเค้กที่ปราศจากกลูเตนสำหรับคนที่แพ้กลูเตน เป็นต้น ซึ่งการทำความเข้าใจกับเป้าหมายและความชอบของกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเป็นลูกค้าจะช่วยกำหนดแนวคิดและเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเปิดร้านเค้กได้ง่ายขึ้น
3. เลือก Location ร้านที่ตอบโจทย์
การเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการเปิดร้านเค้กเป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการดึงดูดลูกค้าและเพิ่มโอกาสที่คนสามารถเห็นร้านได้มากขึ้น การเลือกพื้นที่ที่มีการสัญจรไปมาสูง เช่น ในห้าง ถนนที่คนพลุกพล่าน หรือใกล้กับโรงเรียน ก็เพิ่มโอกาสที่คนจะรู้จักร้านของเราได้มากขึ้น ดังนั้นจะเลือกเปิดร้านในสักที่สิ่งสำคัญที่สุดคือจำเป็นต้องศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละทำเล พร้อมทั้งเงื่อนไขการให้เช่า การคิดค่าเช่า รวมถึงช่วงเวลาที่คนสัญจรไปมา เป็นต้น ซึ่งควรไปดูพื้นที่ทำเลนั้นจริง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น ที่จอดรถและการแข่งขันของร้านแบบเดียวกันในละแวกใกล้เคียง เป็นต้น
4. เช็กความเป็นไปได้ของร้านจากแผนธุรกิจ
เมื่อทำตามครบทั้ง 3 ข้อด้านบนแล้ว ก็ถึงเวลาเช็กความเป็นไปได้ของการเปิดร้านเค้กแล้ว โดยขั้นนี้คือการเขียนแผนธุรกิจนั่นเอง เพราะแผนธุรกิจเป็นส่วนสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจเบเกอรี่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเปิดร้านเบเกอรี่ประเภทไหน มีโครงสร้างอย่างไร เค้กประเภทไหนที่จะขาย ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอะไร และประมาณในการเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้สามารถเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการเปิดร้านเค้กได้ง่ายยิ่งขึ้น และเมื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเปิดร้านเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการที่เป็น Beginner ต้องคิดในมุมของการลงทุน นั่นก็คือเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ดี ขายเท่าไหร่จึงจะถึงจุดคุ้มทุน เพิ่มกำไรให้กับร้านอย่างไรดี และใช้เวลาในการคืนทุนกี่ปี ซึ่งแผนธุรกิจนี้จะรวมไปจนถึงการวิเคราะห์คู่แข่งและการนำเสนอจุดเด่นของร้านตัวเอง
5. คิดเมนูและตั้งราคาขาย
เมื่อทุกอย่างเข้าเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีการวางแผนสำหรับการเปิดร้านเค้ก และรู้แล้วว่าจะเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ดี ขั้นต่อไปก็คือการสร้างสรรค์เมนูที่หลากหลายเพื่อให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายของร้าน ซึ่งจะอิงจากคอนเซปต์ของร้านว่าร้านของเรามีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าแบบไหน หลังจากคิดเมนูของร้านแล้วก็ลงมือพัฒนาสูตรได้เลย สำหรับการตั้งราคาขายเพื่อให้ได้กำไรที่เหมาะสม สามารถแยกคำนวณจากส่วน ๆ ได้ ดังนี้…
- คำนวณต้นทุน
แยกส่วนผสมของการทำเค้กออกมาคำนวณ เช่น แป้ง น้ำตาล ไข่ เนย น้ำมัน หรือเครื่องปรุงรส รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่าง ค่าจ้างพนักงาน (ถ้ามี) ค่าพื้นที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ ค่าบรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเค้ก เป็นต้น
- กำหนดกำไรที่ต้องการ
หลังจากคำนวณต้นทุนการผลิตแล้วให้เรากำหนดกำไรที่ต้องการจากการขายเค้ก กำไรนี้อาจขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของร้าน หรือคู่แข่งที่อยู่ในละแวกเดียวกัน
- คำนวณราคาขาย
โดยปกติแล้วจะใช้สูตรง่าย ๆ ในการคำนวณราคาขายโดยเพิ่มกำไรที่ต้องการและต้นทุนการผลิตโดยรวมเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น: ราคาขาย = ต้นทุนการผลิตโดยรวม + กำไรที่ต้องการ หรือราคาขาย = (ต้นทุนการผลิตโดยรวม x เปอร์เซ็นต์กำไร) + ต้นทุนการผลิตโดยรวม
สำหรับเค้กที่มีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกัน รวมถึงเค้กสั่งทำพิเศษ อาจต้องมีการคำนวณราคาขายตามลักษณะเฉพาะของเค้กแต่ละแบบ เช่น ขนาดเค้ก การตกแต่งหน้าเค้ก เนื้อสัมผัส และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อราคาขาย เรียกได้ว่าการตั้งราคาขายอย่างรอบคอบเป็นหนึ่งในเคล็ดลับสำหรับการเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ไม่ให้ขาดทุนเลยก็ว่าได้
ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านเค้กแบบคาเฟ่ หรือเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ การตั้งราคาขายนอกจากจะต้องมีการคำนวณโดยเอาเรื่องต้นทุนและปัจจัยต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องแล้ว การสำรวจตลาดและการศึกษาราคาขายที่แข่งขันในพื้นที่ใกล้เคียงอาจช่วยให้ร้านสามารถปรับราคาขายเพื่อตอบโจทย์ความพึงพอใจของลูกค้าได้อีกด้วย
6. วางแผนบริหารจัดการร้านให้ดี
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันเลย ก็คือการบริหารจัดการภายในร้านให้ดี ตั้งแต่การรับวัตถุดิบไปจนถึงการอบ การตกแต่ง และการบริการลูกค้า เพราะหากมีการบริหารจัดการไม่ดีอาจส่งผลให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีที่นำไปสู่การบอกต่อจนทำให้ร้านขาดทุนได้ในอนาคต ซึ่งการวางแผนระบบการจัดการร้านให้ดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังช่วยลดความกังวลในเรื่องของการเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ไม่ให้ขาดทุนได้อีกด้วย
7. หาแหล่งซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
การหาแหล่งที่เชื่อถือได้เพื่อซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพให้กับเค้กทุกก้อนในร้าน ต้องเลือกซื้อวัตถุดิบ อย่าง แป้ง น้ำตาล เนย และส่วนผสมอื่น ๆ ที่มีคุณภาพในราคาคุ้มค่า ซึ่งที่ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบและบริการครบวงจร “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” มีวัตถุดิบอาหารคุณภาพดีในราคาส่งมากมายที่พร้อมตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจ ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงการเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ โดยศูนย์ค้าส่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านประตูน้ำ ที่สามารถเดินทางได้สะดวกทั้งกับรถยนต์ส่วนตัวและรถโดยสารสาธารณะ
นอกจากจะสามารถ Walk-in มาเลือกซื้อวัตถุดิบคุณภาพดีได้ด้วยตัวเองแล้ว เหล่าผู้ประกอบการร้านเค้ก ยังสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มาพร้อมบริการจัดส่งถึงหน้าร้าน ได้ที่ PhenixBox แพลตฟอร์มค้าส่งออนไลน์ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการสั่งซื้อตลอด 24 ชม. ที่มาพร้อมกับ 3 ฟีเจอร์ที่โดดเด่น อย่าง Group Purchase (รวมกลุ่มกันซื้อถูกกว่า), Seller Store (แหล่งรวบรวมข้อมูลผู้ขาย) และ E-Catalog (แค็ตตาล็อกออนไลน์)
นอกจากนี้ภายในศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหารและบริการ“AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” และแพลตฟอร์มค้าส่ง PhenixBox ยังมี “YIWU SELECTION THAILAND SHOWCASE” แหล่งรวบรวมสินค้าเบ็ดเตล็ด อุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพนำเข้าจากประเทศจีน (เมืองอี้อู) จัดจำหน่ายอีกด้วย โดยสามารถมาเลือกซื้อได้ด้วยตนเอง หรือจะเลือกสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้เช่นกัน บอกได้เลยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่มีการบวกราคาเพิ่มจากพ่อค้าคนกลางอย่างแน่นอน
8. วางแผนการตลาดเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ก่อนเปิดร้านเค้กจริง เพราะการวางแผนการตลาดสามารถสร้างการรับรู้และดึงดูดลูกค้าให้มายังร้านเค้กของเราได้ และการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอัปรูปเค้กต่าง ๆ การทำป้ายโฆษณาในพื้นที่ที่ขาย ร่วมกับการมีโปรโมชันเปิดร้านและแคมเปญตามฤดูกาล ก็ยิ่งดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ และกระตุ้นการซื้อซ้ำได้
9. ทดสอบระบบภายในร้านก่อนเปิดขายอย่างเป็นทางการ
ก่อนเปิดร้านเค้กอย่างเป็นทางการ เราต้องทดสอบระบบภายในร้านทั้งหมดอย่างละเอียด โดยจะต้องทำทุกอย่างเหมือนเปิดร้านจริง เพียงแต่เชิญคนรู้จักเข้ามาใช้บริการภายในร้าน แล้วถาม Feedback ว่าร้านของเรามีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง เพื่อให้สามารถเปิดร้านวันจริงได้อย่างราบรื่น
เรียกได้ว่าขั้นตอนทั้ง 9 ข้อนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการวางแผนเปิดร้านเค้กสักร้านหนึ่ง สำหรับเหล่า Beginner ที่สนใจเปิดร้านเค้กเล็ก ๆ หรือร้านเบเกอรี่ที่กำลังมีคำถามอยู่ในหัวว่า อยากเปิดร้านเบเกอรี่ต้องทำไงบ้าง เปิดร้านเบเกอรี่ต้องมีอะไรบ้าง รวมถึงการเปิดร้านเค้กลงทุนเท่าไหร่ดีนั้น บทความนี้จาก “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหารและบริการครบวงจรได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่สามารถช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการที่เป็น Beginner วางแผนในการเปิดร้านเค้กได้อย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ การใส่ใจในคุณภาพ และความมุ่งมั่นในงานบริการที่เน้นสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ร้านมีศักยภาพที่จะกลายเป็นร้านเค้กยอดฮิตในย่านนั้น ๆ ได้ไม่ยาก
______________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือการเช่าพื้นที่ ได้ที่
- Website: https://aectradecenter-th.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/aecpantip
- Inbox: https://www.facebook.com/messages/t/aectradecenter.th
- Line: @aecpantip
- หรือโทร. ติดต่อเช่าพื้นที่ 062-591-4053, 062-196-1614